top of page
Writer's pictureหมูุดุด

หมูดุดกับฟีดแบค ⑤ การรีเมค 空想作文

Be gone เส้นงง!


 

สวัสดีทุกคนด้วยฮะ วันนี้มาพบกับฟีดแบคสุดท้าย นั่นก็คือ ฟีดแบค 空想作文 นั่นเองง ในครั้งนี้นั้นมีสิ่งที่แตกต่างไปจากทุกทีอยู่ฮะ เพราะคราวนี้เกิดปรากฎการณ์..... ..

.

“เส้นงงที่หายไป!!”

ในที่สุดวันนี้ก็มาถึงง วันที่เส้นงงลดจำนวนลงกว่าทุกครั้งและพากันหายไปจากงานเขียนของหมูดุด อมก. อมก. อมก. เย้ \(T∇T)/\(T∇T)/\(T∇T)/ เย้

ปลื้มปริ่มเหลือเกินน

เนื่องจากเส้นงงที่คอยชี้จุดผิดไวยากรณ์หายไปพอสมควร (เพราะหมูดุดเขียนน้อยรึเปล่านะ ?) ในครั้งนี้ หมูดุดเลยขอเน้นไปที่การแก้ไขการเขียนมากกว่าไวยากรณ์นะฮะ ซึ่งการแก้นั้นหลัก ๆ จะเน้นไปที่วิธีการเขียนบรรยายฉากและเหตุการณ์ฮะ ส่วนไวยากรณ์ที่ผิดนั้นจะเน้นแค่ที่คำช่วยและการเลือกใช้คำศัพท์ฮะ

วันนี้ท็อปฟอร์มจริง ๆ ให้ตายเถอะ!

เริ่มแก้จุดที่ผิดกันโลดด

..

.


เวอร์ชันก่อนแก้ (พร้อมเส้นงง) ฮะ

① ไวยากรณ์   คำช่วย (ลืมใส่คำช่วย ใช้ผิดคำช่วย ใช้ は กับ が สลับกันเยอะะ)   - การใช้คำช่วย      /ตีมือ ทำไมผิดซ้ำซากได้ขนาดเน้--   หลัก ๆ ที่ต้องจำก็คือเมื่อต้องการส่งบทให้ตัวละครหนึ่ง ๆ เป็นตัวเด่นขึ้นมาให้ใช้คำช่วย は และ หากตัวละครมีการปรากฎตัวเป็นครั้งที่ 2 ให้ใช้ は แทน が (ซึ่งหมูดุดชอบผิดข้อนี้ประจำ Orz)   การใช้คำศัพท์   *** 姿 → 様子   ตอนแรกก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมอาจารย์ถึงขีดเส้นงงตรงคำว่า 姿 มาให้ ก็เลยลองพึ่งเว็บไซต์ที่ปรากฎในมิสเตอร์กู๋ดู พบว่า

หมูดุดเข้าใจว่าอาจารย์คงอยากให้ใช้คำว่า 様子 มากกว่า 姿 เพราะเป็นการบรรยายสภาพ "(ดูเหมือน) อดนอน" จากมุมมองของคนอื่น (หวังว่าหมูดุดจะแก้ถูกนะ ꒰•̩̩̩́ ᴗ •̩̩̩̀꒱) ... .. .

② เนื้อเรื่อง (รายละเอียดน้อย อธิบายรวบรัด)   เพิ่มเติมรายละเอียดของฉาก   ขยายการกระทำของตัวละครมากขึ้น

และวิธีการที่หมูดุดอยากลองใช้ในการแก้ครั้งนี้ก็คือ

*** การเล่าเรื่องแบบ Eye Level Angle

ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องจากมุมมองระดับสายตานั่นเองฮะ ปกติแล้วเราจะคุ้นกับคำว่า Bird Eye View ที่เป็นการมองจากมุมสูง หรือ Frog Eye View ที่เป็นการมองจากมุมต่ำมากกว่าคำว่า Eye Level Angle ทว่าแต่ละมุมมองต่างก็ให้ความรู้สึกที่ต่างกันไป เช่น มุมมองสูงให้ความรู้สึกกว้างขวาง มุมมองต่ำให้ความรู้สึกทรงพลัง ส่วนมุมมองระดับสายตาจะช่วยให้ผู้เห็นเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของภาพได้มากขึ้นฮะ (ติดตามอ่านรายละเอียดมุมมองอื่น ๆ ได้ที่ลิ้งก์นี้เลยฮะ https://risphotograph.blogspot.com/2013/02/5-kinds-angle-of-view-in-photography.html?m=1)

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หมูดุดได้แรงบันดาลใจมาจากการที่หมูดุดนั่งเขียนงานชิ้นนี้ตอนเวลาตี 3 พร้อมด้วยบรรยากาศเงียบเหงาในห้องนอน และความตึงเครียดของการคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรส่งดี ดังนั้น เนื้อหาในเรื่องนี้จึงสะท้อนความคิดความรู้สึกของหมูดุดที่อยู่ในสถานการณ์นั้นออกมา หมูดุดเลยคิดว่าถ้าอธิบายด้วยมุมมองที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนกับได้อยู่ร่วมห้องกับตัวละครเอกก็น่าจะทำให้อ่านแล้วเข้าใจดีขึ้นนะ แม้เนื้อหาอาจจะไม่ได้กินใจมาก เลยทำให้คะแนนจัดอันดับอยู่รั้งท้ายก็ตาม แต่พอได้เห็นเพื่อนบางคนให้คะแนนเราเยอะ (เกิน 1-2) ทำให้หมูดุดคิดว่าอย่างน้อยก็มีคนอ่านงานเขียนของหมูดุดรู้เรื่องอยู่เหมือนกันสินะ ขอบคุณมากนะฮะสำหรับคนที่โหวตให้ หมูดุดจะพยายามต่อไปฮะะ ヽ(;▽;)ノ และก่อนที่จะเริ่มเขียนแก้นั้น หมูดุดได้ลองหาภาพประกอบงานเขียนดูฮะ เป็นการตั้งเป้าหมายไปในตัวว่าอย่างน้อยต้องเล่าเรื่องให้ได้เห็นภาพประมาณนี้นะ วิธีนี้หมูดุดเคยอ่านเจอในเว็บไซต์สอนเขียนนิยายฮะ เพื่อน ๆ ลองเอาไปใช้กันได้เลยนะฮะะ

/แปะรูปปลากรอบ

..

.

ถึงเวลาแก้แล้ว ชะแว้บบ




 

แก้เสร็จกันไปเป็นที่เรียบร้อย ไม่รู้ว่าดีขึ้นหรือได้เท่าเดิมก้ันแน่ 555 ยังไงก็ตามถ้าทุกคนอ่านแล้วพอเข้าใจ หมูดุดก็ดีใจแล้วฮะ ٩(•̤̀ᵕ•̤́๑)ᵒᵏᵎᵎᵎᵎ

ไว้เจอกันใหม่โพสต์หน้า บ๊ายบายฮะะ

23 views2 comments

2 Comments


หมูุดุด
หมูุดุด
May 16, 2019

@CanTo Raider Muchas Gracias!! ขอบคุณมากเลยฮะะ ไม่คิดว่าจะมีคนชอบด้วย แงงงงง ปกติหมูดุดเป็นคนไม่ชอบอ่านอะไรยาว ๆ น่ะฮะ เลยตั้งเป้าไว้ว่าอยากจะเขียนให้สั้น แต่ให้คิดต่อได้มาก ๆ แค่พี่อ่านแล้วรู้เรื่อง น้องก็ปลื้มปริ่มแล้วฮะ (TvT จริง ๆ แล้วพวก Eye Level Angle อะไรนี่มันเป็นชื่อของมุมมองการถ่ายภาพเฉย ๆ ฮะ แต่หมูดุดเอาวิธีโฟกัสของภาพประเภทดังกล่าวมาปรับใช้กับวิธีการเขียน เป็นการอธิบายว่าจะเขียนแบบเน้นการบรรยายที่จุดใดเป็นพิเศษ ดีใจที่ได้เป็นแหล่งความรู้ให้พี่นะฮะ 555 น้องว่าความสำคัญของการเขียนน่าจะอยู่ที่การอธิบายมากกว่าความยาวของเรื่องนะฮะ ถ้าอธิบายแล้วเข้าใจได้ง่ายก็จะอินได้ง่ายกว่า ของพี่โต้ก็เล่าละเอียดดีนะฮะ ส่วนตัวน้องชอบฉากสนทนามากเลยยย ♥

Like

CanTo Raider
CanTo Raider
May 15, 2019

โหหห มีชื่อเรียกวิธีการเขียนด้วยเหรอ ความรู้ใหม่ เราชอบเรื่องนี้นะ เพราะกระชับ ไม่เวิ่นเว้อ (point หลักที่ชอบเลยเพราะอย่างที่บอกเรารู้สึกว่าตัวเองแต่งยาวไปหน่อย) แต่ก็กินใจอ่ะ แถมมีพื้นที่ให้จินตนาการหลายๆอย่างเอาเอง ซึ่งเป็นเสน่ห์อีกประการของเรื่องสั้น

Like
bottom of page