เริ่มจะไม่แน่ใจแล้วว่าอะไรชวนงงกว่ากัน ระหว่างหมูดุด? หรือ เส้นงง?
สวัสดีทุกคนด้วยฮะ รอบนี้ก็ห่างหายไปนานอีกเช่นเคย ขอโทษด้วยฮะะ /กราบ สารภาพว่าช่วงนี้หมูดุดยุ่งมากจริง ๆ ถ้าจัดการงานเสร็จเมื่อไรหมูดุดสัญญาว่าจะมาโพสต์ให้บ่อยกว่านี้แน่นอนฮะ (TvT แง เนื่องมาจากเมื่อสัปดาห์ก่อนนู้นน หมูดุดได้ทำกิจกรรมในห้องเรียน ซึ่งอาจารย์จะให้ดูรูปการ์ตูน 4 ช่อง จากนั้นให้เล่าเพื่อนฟังแบบง่าย ๆ ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร โดยเน้นการเล่าเรื่องแบบ 目に浮かぶ描写 (เห็นภาพ) ประมาณนั้นฮะ
ซึ่งหมูดุดก็ได้ทำแล้วเรียบร้อย บอกเลยว่าเละะะะ Orz ดังนั้นวันนี้หมูดุดเลยอยากมาแบ่งปันฟีดแบคที่หมูดุดได้มาให้กับผู้อ่านทุกคนเช่นเคยฮะ เล็ทส์โกวว
ก่อนอื่นมาดูแบบแรกที่หมูดุดลองด้นสดเองกันก่อนนะฮะ
แบบแรกสุดฮะ ชะวิ้งง
Orz…
ละ…เลวร้ายสุด ๆ นี่เราพูดอะไรออกไปเนี่ย
สรุป ความเลวร้ายหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบแรก ได้แก่
ใช้รูปสุภาพ (ます) สลับกับ 普通形 ตลอด
えーと จำนวนร้อยแปดพันล้าน
แก้คำผิด (พูดใหม่) บ่อยมากก
*** ไม่มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ล่วงหน้าก่อนเล่า พูดเฉพาะตามที่เห็น *** (หมูดุดคิดว่าข้อนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เพื่อนงง)
นี่ขนาดไม่นับการใช้คำผิด หรือการผันกริยาผิดนะ โอ้มายคะมิ ยุรุฌิเตะคุดะซะอิ
ผลลัพธ์ก็คือ…
..
.
เพื่อนที่ฟังเหวอมาก แงง หมูดุดขอโทษษษษษ /กราบ
สงสารเพื่อนที่ฟังเสร็จก็ต้องสงสารอาจารย์ที่ต้องมาอ่านอะไรแบบนี้อีก /กระซิก ๆ
และหลังจากส่งเรียบร้อย อาจารย์ก็ให้โอกาสในการแก้ตัวใหม่
แบบที่แก้แล้วได้ประมาณนี้ฮะ ชะแว้บบ!
ถือว่าดูดีขึ้น…
..
.
รึเปล่านะ?
เท่าที่สังเกตแบบที่แก้แล้ว
ดูอ่านง่ายขึ้นเยอะ
ใช้คำศัพท์ผิดน้อยลง
คำช่วยยังตามหลอนอะเกน
ดันมีผิด Aspect มาเพิ่ม Orz
ใช้รูปสุภาพเหมือนกันทั้งเรื่องแล้ว เย้
โดยรวมมีที่ผิดน้อยลงมาก (หรือเป็นเพราะหมูดุดเขียนน้อยรึเปล่านะ?)
คหสต. หมูดุดค่อนข้างพอใจกับการพัฒนาทักษะของตัวเองใน Task นี้มากเลยฮะ นี่สินะวันนี้ที่รอคอย ᕦ(T▽T)ᕤ
ประเด็นหลักที่หมูดุดแก้ไขไปคือ “การเล่าให้เห็นภาพ” ตามจุดประสงค์ของงานชิ้นนี้เลยฮะ
การเล่าให้เห็นภาพ (และเข้าใจง่าย) หมูดุดคิดว่าหลักสำคัญอยู่ที่ “ความชัดเจน” ฮะ
รอบแรกที่หมูดุลองพูดเอง หมูดุดพยายามลองนำหลักการอธิบายแบบ 手際 (หาอ่านรายละเอียดได้ในในโพสต์ที่แล้วฮะ /โฆษณาแฝงที่แท้ทรู) มาประยุกต์ใช้ดู ดังตัวอย่างแรกที่มีอธิบายต่าง ๆ นานา เช่น ลักษณะแผนที่ที่คุณลุงชาวต่างชาติถืออยู่ ตัวละครแต่ละตัวทำหน้าตาอย่างไร
เพราะหมูดุดคิดว่าสิ่งสำคัญคือ ทั้ง 手際の良い説明 และ ストーリーテリング ต้องอธิบายให้ละเอียดเหมือนกัน ดังนั้นในรอบแรกเลยพยายามใส่รายละเอียดเข้าไปมาก ๆ (เท่าที่จะคิดออก) เพื่อที่เพื่อนจะได้เห็นภาพ
ซึ่งผลก็คือออออออ
..
.
เละะะะะจ้า แงง
เป็นเพราะว่ารายละเอียดมันเยอะเกินไป เลยทำให้ภาพกลับยิ่งคลุมเครือเข้าไปอีก
ตอนที่ลองครั้งแรกแล้วเพื่อนบอกไม่เข้าใจมาก ตามไม่ทันยิ่งกว่า ∑(O_O;) Shock!!
หมูดุดตกใจมากเลยนะ เพราะอุตส่าห์พยายามให้รายละเอียดเยอะ ๆ แล้ว แต่ทำไมไม่เห็นภาพกันนะ
นั่งคิดนอนคิดเหตุผลอยู่นาน พอคิดไปคิดมาก็เลยนึกถึงภาพนี้ฮะ…
หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นภาพนี้ดี ภาพนี้มาจากซีรีส์สมุดภาพชุด Find Wally ฮะ อธิบายง่าย ๆ คือ ตัวละครชายที่ชื่อวอลลี่จะไปอยู่ปะปนกับฝูงชน แล้วให้คนอ่านหาวอลลี่ให้เจอนั่นเองฮะ
ถ้าถามว่ารูปของวอลลี่เกี่ยวอะไรกับ Task นี้
คำตอบก็คือ
รายละเอียดที่เยอะเกินไปจะทำให้หาใจความหลักได้ยาก เหมือนกับที่หาวอลลี่ (แก่นเรื่อง) ท่ามกลางฝูงชน (รายละเอียด) ไม่เจอนั่นแหละฮะ
เมื่อลองเปรียบเทียบกับตัวอย่างของคนญี่ปุ่นที่อาจารย์หามาให้อ่านแล้ว เทคนิกหลัก ๆ ที่พบ ได้แก่
เล่าเรื่องอย่างง่าย ๆ เล่าตามลำดับเหตุการณ์/เล่าเรื่องทีละช่องการ์ตูน
รายละเอียดไม่เยอะมาก
เน้นความละเอียดและเนื้อหาเฉพาะตอนสำคัญของเรื่อง
ใช้กริยาประสมเยอะ รวมถึงพวก てしまう ていく てきた ฯลฯ
*** สมมติความคิดของตัวละครมาประกอบการเล่า ***
หมูดุดคิดว่า 3 ข้อแรกเป็นเทคนิกที่ดีมากเลย โดยเฉพาะการเล่าตามลำดับ “ช่อง” ของการ์ตูน ซึ่งหมูดุดก็ได้นำเทคนิกนี้มาใช้แก้งานของตนเองด้วย ผลก็คือ รู้สึกอ่านง่าย สบายตาขึ้นมากเลยฮะ พอค่อย ๆ เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการ์ตูนทั้ง 4 ช่องแยกเป็นช่อง ๆ ไป ทำให้ผู้ฟังจัดลำดับข้อมูลได้ง่าย เห็นภาพเลยฮะ
ส่วนกริยาประสม หมูดุดค้นพบว่าที่ผ่านมาหมูดุดแทบไม่ได้ใช้เลยฮะ 55555555
สาเหตุหลักก็คงเพราะคลังคำศัพท์น้อยนั่นแหละแฮะ แถมบางทีก็ไม่รู้ด้วยว่าสามารถผสมกริยาอันไหนกับอันไหนได้บ้าง โอยย แต่เท่าที่อ่านจากตัวอย่าง กริยาพวกนี้ทำให้เห็นภาพมากกว่าการใช้กริยาเดี่ยวอย่างชัดเจนเลย รวมถึงพวกกริยาที่ลงท้ายด้วย てしまう てきた เช่นกันฮะ ซึ่งพอหมูดุดลองใช้ดู เช่น 目が合ってしまって หรือ 近づいてきました ก็รู้สึกดีกว่าใช้กริยารูปปกติเสียอีก แค่ผันนิดเติมหน่อยก็ได้ภาพใหม่ขึ้นมา สุดยอดไปเลยฮะ
ส่วนเทคนิกสุดท้ายเป็นเทคนิกที่หมูดุดเข็มขัดสั้น (คาดไม่ถึง) มากเลยฮะ นั่นก็คือการเล่าเรื่องโดยสมมติความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร
ปกติแล้วถ้าให้หมูดุดเล่าเรื่องสักเรื่อง หมูดุดก็คงจะเล่าเรื่องตามที่ตาเห็นเท่านั้นแหละฮะ
แต่ว่าจากตัวอย่างของชาวญี่ปุ่น มีการบรรยายความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเพื่อความเข้าใจง่าย + เพิ่มอรรถรสด้วย เช่น ระหว่างที่ชาวต่างชาติกำลังเดินใกล้เข้ามา นักธุรกิจคนนั้นก็คิดว่า “ต้องแย่แน่เลย จะทำยังไงดี” ประมาณนี้ฮะ
ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวละครจะคิดแบบนั้นจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ที่แน่ ๆ คือ คนอ่านเห็นภาพในหัวชัดเจนเลยฮะ หมูดุดก็เลยขอน้อมรับเทคนิกไปใช้ดูบ้าง (ว่าง่าย ๆ ก็ก็อปปี้นั่นแหละฮะ /ขอโทษฮับ)
แถมยังมีการสรุปเรื่องตามความคิดเห็นของตนเองอีก เช่น การ์ตูนเรื่องนี้นี่เป็นการ์ตูนเสียดสีสังคม ฯลฯ
เล่าเรื่องง่าย ๆ แถมแอบแทรกความคิดเห็นตนเองเพิ่มได้อีก นิฮงจินนี่เท่จริง ๆ เลย 55555555555555555555
ส่วนเวอร์ชันแก้รอบสุดท้ายเป็นดังนี้ฮะ ปะชะวิ้งง
รวมการแก้จุดที่บกพร่อง
よう ➡️ そう
สารภาพว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ใช้สลับกัน Orz เนื่องจากความหมายค่อนข้างคล้ายกัน เลยทำให้สับสนอยู่บ่อย ๆ จากนี้ไปคงต้องทบทวนไวยากรณ์ชวนเวียนหัวพวกนี้เพิ่มแล้วสินะ
偶然で ➡️ 偶然に
อ้ากกก คำช่วยยย คำช่วยอีกแล้วว เพราะชอบคิดเป็นภาษาไทยว่า “ทำด้วยความบังเอิญ (で)” เลยใช้ผิดประจำทั้งที่จริง ๆ ต้องคิดแบบญี่ปุ่นว่า “ทำอย่างบังเอิญ (に)” ถึงจะไม่ผิดแท้ ๆ ถถถ
を ➡️ が見える
ไวยากรณ์สมัยมัธยมปลายชัด ๆ แถมยังผันผิด ลืมผันเป็นรูปอดีตอีก ถ้าครูมัธยมปลายของหมูดุดผ่านมาเห็นโพสต์นี้ หมูดุดขอโทษฮะะะ
って ➡️という
อุตส่าห์ผันรูปสุภาพถูกทั้งเรื่อง ดันมาตายเพราะ 2 ตัวอักษรสั้น ๆ ซะได้ /RIP
見える ➡️ 見る
จริง ๆ แล้วที่ท่อนนี้ใช้ผิดเป็น 見える เพราะติดมาจากภาษาไทย (อีกแล้ว) ที่ว่า “พอเห็นดังนั้น…” ซึ่งความจริงแล้วต้องเป็น “ดู (見る)” ถึงจะถูก เพราะในภาษาญี่ปุ่น คำว่าเห็นคือต้องบังเอิญแว่บเข้ามาในตาเอง ไม่ได้ตั้งใจดู เลยผิดไปโดยปริยาย แง
描かれた ➡️ 描かれている
อันนี้เป็นความรู้ (เกือบ) ใหม่เลยฮะ ถึงแม้จะเขียนถึงการวาดการ์ตูนที่การกระทำนั้นจบไปแล้ว แต่จริง ๆ แล้วต้องเขียนถึงสภาพที่การวาดกำลังเกิดขึ้นอยู่
สรุป
หมูดุดไม่ควรพูดแบบด้นสดโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นความเลวร้ายจะบังเกิด…
..
.
ไม่ใช่แล้ว ! ไม่ใช่แบบนั้นสิ !
สรุป (จริง ๆ)
Task นี้ทำให้หมูดุดเข้าใจวิธีการเล่าเรื่องให้เห็นภาพแบบมือโปรขึ้นมาบ้างแล้วฮะ
และหากเข้าใจเทคนิกที่สำคัญ เช่น เล่าเน้นจุดพลิกผันของเรื่อง เล่าทีละช่อง ให้รายละเอียดแต่พอดี ให้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย ได้แล้ว ผู้ฟังก็จะเห็นภาพของเรื่องที่เราเล่าได้ง่ายขึ้นฮะ
ที่จริงแล้ว หมูดุดคิดว่าเทคนิกเหล่านี้สามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีเลยนะฮะ
แค่ลองคิดดูว่าจะได้เม้าธ์มอยกับเพื่อน ๆ โดยใช้เทคนิกเหล่านี้แล้ว น่าสนุกไม่ใช่น้อยเลยนะฮะ
เพียงแต่ส่วนที่ใส่อารมณ์ความรู้สึกไปเพิ่มนี่คงจะไม่ไหวแฮะ…
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของการพูด (สำหรับหมูดุด) คือการไม่โกหกนั่นเอง
ถ้าเล่าได้สนุกและไม่ต้องโกหกใคร ก็เฮฮาและสบายใจได้ทั้งคนเล่าและคนฟังแน่นอนฮะ
โพสต์นี้คงต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ (เพราะยาวมากแล้ว)
ไว้เจอกันใหม่โพสต์หน้านะฮะ さようなら!
ปล.
พอมาลองคิดดูอย่างจริงจังแล้ว เทคนิกการเล่าโดยอาศัยการอธิบายแบบ 手際 ที่หมูดุดลองใช้ตอนแรกสุดมันอาจจะได้ผลก็ได้นะ เพียงแต่หมูดุดพูดจาไม่รู้เรื่องเอง เลยทำให้เพื่อนไม่เข้าใจ……….
..
.
บ้าจริง แล้วเราจะอุตส่าห์แก้เนื้อเรื่องใหม่หมดเพื่ออะไรกัน !
ทำไมอ่อนหัดแบบนี้นะ !
@Eng Danmongkhontip ขอบคุงมากเลยฮะพี่อิงที่มาเยี่ยม แววว จริง ๆ แล้วน้องว่านี่เป็นข้อเสียของน้องเลยนะฮะ คือ แม้ว่าจะวิเคราะห์หาวิธีพัฒนาตนเองได้ดีเสร็จสรรพแค่ไหน แต่พอทำจริงแล้วไม่เละก็ล่มทุกที ถถถถถ ปล.ดีใจที่พี่ชอบมีมนะฮะ ♥
อ่านของน้องแล้วรู้สึกว่าน้องวิเคราะห์หาวิธีพัฒนาได้ดีเลย เช่น เล่าแค่ประเด็นหลักๆให้เข้าใจ 流れ ก็พอ แต่พอถึงไคลแมกซ์แล้วเล่าละเอียดได้เพื่อให้คนฟังอินมากขึ้น เล่าโดยเหมือนเราสวมรอยเป็นตัวละคร และใช้ศัพท์ผสมบ้าง ซึ่งข้อหลังพี่ก็ยังทำไม่ค่อยได้ 55555 คลังคำศัพท์น้อยเหมือนกัน ร้องไห้ T_T ไม่อยากจะบอกเลยว่าเรียนญี่ปุ่นมากี่ปีแล้ว (เศร้า) // ชอบมีมอันสุดท้าย เข้าใจความรู้สึกเลย 5555
@Narunchada Muangtong ปัญหาสำคัญคือ พอเราแก้จุดผิดรอบนี้ไปได้ ไปด้นสดคราวหน้าก็อาการลนบังเกิดจนพูดผิดพูดถูกเหมือนเดิมนี่สิ 55555555555 /ในเลข 5 มีน้ามตาซ่อนอยู่
พอด้นสดมันก็จะเละๆหน่อย เป็นเหมือนกัน5555 แต่พอเราย้อนดูที่ตัวเองพูด หาจุดที่ผิดก็ทำให้สังเกตวิธีการพูด การใช้ศัพท์ของตัวเองได้เยอะเลยเนอะ