top of page
Writer's pictureหมูุดุด

หมูดุดกับฟีดแบค ① การแนะนำตัว

เส้นงง.......... เส้นงงเต็มไปหมด..........

 

สวัสดียามดึกทุกคนที่หลงเข้ามาอ่านฮะ ! รู้สึกเหมือนหมูดุดห่างหายจากการอัพเดตบล็อกไปนานมากเลย Orz 本当にすみませんでした。 โพสต์นี้ไม่ค่อยมีอะไรมาก แค่อยากจะมาแชร์ฟีดแบคของแบบฝึกหัด(การบ้าน) ที่ได้ส่งอาจารย์ไป เรื่อง "การแนะนำตัว" ที่ได้เกริ่นไว้ในโพสต์ที่แล้วฮะ (จริง ๆ มีแบบฝึกหัดการอธิบายแบบ 手際 อีก แต่หมูดุดกลัวว่าเดี๋ยวโพสต์มันจะยาวไป ขอทบเอาไว้เป็นคราวหน้าแล้วกันนะฮะ /เบญจางค์) ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยโลดดด!

 

ก่อนอื่นขออนุญาตอ้างอิงจากโพสต์ที่แล้วก่อนนะฮะ คราวที่แล้วหมูดุดเขียนไว้ว่า..........

..........การบ้านครั้งนี้ยังตั้งใจไว้อีกว่าอย่างน้อยต้องทำให้อาจารย์อ่านแล้วจำหมูดุดได้แน่นอน! ก็เลยเลือกใช้จุดเด่นที่ชัดเจนมาก ๆ และยังสังเกตง่ายอีกด้วย.......... ..........ต้องได้ผลแน่! (แต่ถ้าอ่านแล้วต้องโดนแซวในคาบแน่เลย งือ ヽ(;▽;)ノ)

และผลที่ได้จากฟีดแบคของอาจารย์ก็คือ.......... อาจารย์จำเราได้จริง ๆ ด้วย เฮฮฮฮ (แต่ก็โดนเเซวจริง ๆ ด้วย กี้ดด) แต่เรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะที่โพสต์นี้ต้องการจะพูดถึงเป็นหลักก็คือ "วิธีปรับปรุงการเขียนงานของหมูดุดเอง" ฮะ ก่อนอื่นเลยมาดูฟีดแบคของอาจารย์ก่อนดีกว่าฮะ

เส้นที่ขีดยาวกว่าอนาคตหมูดุดอีก กี้ดด

เปิดอีเมลล์มาเห็นฟีดแบคแล้วถึงกับต้องผงะแรง เพราะเส้นแดงเต็มไปหมดเลย ฮือออ (เส้นสีแดงคือส่วนที่ใช้ผิด ใช้ภาษาแปลก ๆ แก้ให้ดีกว่านี้ได้ หรืออ่านแล้วงงมาก ๆ แต่ในที่นี้หมูดุดจะขอเรียกเส้นนี้ว่า "เส้นงง" ละกันฮะ) ซึ่งเส้นงงที่หมูดุดได้หลัก ๆ จะแบ่งได้เป็น : ①. การใช้คำศัพท์(ใช้คำผิด ใช้ภาษาพูด ใช้คำแปลก ๆ)

②. การแต่งประโยค(ประโยคไม่สมดุล ประโยคความหมายแปลก ๆ) ซึ่งเส้นงงเหล่านี้มักจะมากจากความผิดพลาดที่ไม่รอบคอบ + เบลอเวลาทำงานนั่นเอง โถ่เอ้ยยย ปกติแล้วหมูดุดจะตรวจทานงานหลังเขียนเสร็จเฉพาะเนื้อหาและการสะกดคำหรือไวยากรณ์นิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งส่วนนี้ถ้าใช้เวลากับการตรวจทานมากกว่านี้อีกสักหน่อยก็คงไม่ผิด(หวังว่านะ...) เช่น ตรงที่ใช้คำกริยาใส่(着る) ผิดไป ที่ถูกต้องใช้กับการใส่เสื้อ เพราะถ้าเป็นการสวมใส่เครื่องประดับพวกหมวกต้องใช้คำกริยา "ใส่(かぶる)" ถึงจะถูก บ้าจริงหมูดุดทำไมไม่เช็กให้ดีก่อนนะ! ในขณะเดียวกันการตรวจทานเรื่องความเป็นธรรมชาติของประโยคนี่ไม่ได้แตะต้องเลย เป็นสัญญาณว่าต้องปรับวิธีการทำงานซะแล้วสินะ Orz นี่ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างวิธีการทำงานที่ไม่ดีนะฮะ ได้โปรดอย่าเลียนแบบกันนะฮะ (ó﹏ò。) หมูดุดจะพยายามปรับปรุงตัวฮะะ ฮืออ ส่วนเส้นงงที่หมูดุดคิดว่าน่าสนใจอยู่ที่ตรง "集め始めました" ที่อาจารย์ให้ฟีดแบคมาว่า "แสดงการเปลี่ยนแปลงได้น้อยมาก" โดยเฉลยอาจารย์บอกว่าใช้ "集め始めるようになりました" แทนจะดูเป็นธรรมชาติกว่าฮะ ปัญหาที่หมูดุดค้นพบจากฟีดแบคนี้ก็คือ แม้หมูดุดจะ(สมมติว่า) เขียนถูกไวยากรณ์ทั้งหมดก็ตาม ไม่ได้แปลว่างานเขียนของหมูดุดจะใช้ภาษาญี่ปุ่นได้เป็นธรรมชาติเหมือนคนญีปุ่นจริง ๆ ซึ่งนั่นเป็นเพราะเริ่มแรกที่หมุดุดเขียนงานเขียนหนึ่ง ๆ ขึ้นมา หมูดุดตั้งต้นเขียนจาก "ภาษาแม่(ภาษาไทย)" ก่อนนั่นเอง ว่าง่าย ๆ ก็คือเขียนเป็นไทยก่อนแล้วค่อยแปลงเป็นญี่ปุ่นนั่นแหละฮะ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หมูดุดคิดว่าแม้ว่าหมูดุดจะสามารถเขียนถูกต้องตามไวยากรณ์ทุกประการก็ตาม ประโยคที่แต่งเองจะไม่มีความเหมือนประโยคจริง ๆ ที่คนญี่ปุ่นใช้กันอย่างแน่นอน สังเกตได้จากการที่เราลองพิมพ์ประโยคหนึ่งด้วยภาษาญี่ปุ่นที่เราแต่งเอง(โดยตั้งต้นจากการแต่งด้วยภาษาไทย) ลงไปในกูเกิ้ลดอทคอม แต่ผลการค้นหาจากเว็บภาษาญีปุ่นจริง ๆ คนญี่ปุ่นมีวิธีเขียนต่างกับเราโดยสิ้นเชิง แต่ดันได้ความหมายเดียวกับประโยคตั้งต้น(ภาษาไทย) ของเรา ซึ่งวิธีการศึกษาจากมิสเตอร์กู๋(กูเกิ้ลดอทคอม) ข้างต้นนั้น หมูดุดได้ลองหลายคร้ังแล้ว แต่ก็ไม่เคยเข้าใจสักทีว่าทำไมเราไม่เคยเข้าถึงความเป็นธรรมชาติในการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นได้เลยกันนะ (แต่บางทีก็เจอคนญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นงง ๆ เหมือนเราก็มีนะ แปลกดีเหมือนกันแฮะ) คำถามสำคัญก็คือ.......... "แล้วเราจะทำอย่างไรให้ประโยคที่เราแต่งเป็นธรรมชาติกันล่ะ?" คำตอบที่หมูดุดคิดก็คือ "(ถ้าแต่งโดยการพึ่งตนเองอย่างเดียวก็) ไม่มี" ฮะ หมุดุดคิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก ๆ ๆ มาก ๆ ๆ ที่จะสามารถใช้ภาษาที่ 2(หรือ 3 หรือ 4 ฯลฯ) ได้เหมือนกับเจ้าของภาษาจริง ๆ โดยที่ไม่เคยคลุกคลีหรือเคยชินกับการใช้ภาษานั้นมาก ๆ มาก่อน เพราะว่าขาดความเคยชินและพื้นฐานความคิดแบบประชากรเจ้าของภาษานั้น ๆ นอกจากนี้ หากเริ่มตั้งต้นจากภาษาอื่นมา ย่อมยากที่จะเทียบ 2 นั้นให้เหมือนกันได้โดยสมบูรณ์ ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดที่หมูดุดคิดว่าน่าจะทำได้ก็คงจะเป็นการลองฝึกเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยตั้งต้นจากภาษาญี่ปุ่นละมั้งฮะ ประมาณว่าค่อย ๆ เขียนเป็นญี่ปุ่นไป คิดไปพลางว่าคนญี่ปุ่นเขาจะใช้คำศัพท์ตรงนี้อย่างไรดีน้า วิธีนี้อาจจะช่วยให้เราเข้าใจวิธีการใช้จริงมากขึ้นก็ได้(มั้ง) ฮะ และคงเป็นเพราะเหตุนั้นละมั้งฮะที่มิสเตอร์กู๋คือเพื่อนแท้ในการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน เนื่องจาก การศึกษาการใช้ภาษาจากเจ้าของภาษาน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฝึกใช้ภาษาที่ 2 ของผู้เรียนนั่นเอง หรือถ้าใครมีวิธีที่ดีกว่าวิธีสิ้นคิดของหมูดุดก็คอมเมนต์ไว้ได้เลยนะฮะ /กราบ สุดท้ายนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่หมูดุดคิดก็คือ การที่เราใช้ภาษาอย่างไม่เป็นธรรมชาติเนี่ยก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ความแตกต่างทางความคิดในการใช้ภาษาของแต่ละภาษาดีเหมือนกันนะฮะ เหมือนกับที่หมูดุดคิดว่า แค่ "集め始めました" ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับความหมายที่ว่า "เริ่มสะสม(ในมุมมองภาษาไทย)" แต่ภาษาญี่ปุ่นมีการเน้นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของการกระทำ จึงต้องใช้รูปประโยค "集め始めるようになりました" ที่ให้ความหมายว่า "เริ่มสะสม(จากไม่สะสม หันมาสะสม) " นั่นเอง

 

ปล. ขออภัยที่โพสต์อะไรยาว ๆ ในเวลาดึกดื่นนะฮะ /เบญจางค์ ปล2. ตอนแรกว่าจะไม่ยาว แต่ก็ยาวจนได้ บ้าจริง! ใครมีวิธีเขียนบล็อกที่ไม่ยาวและไม่เยิ่นเย้อ แนะนำมาได้เลยนะฮะ ปล3. เดี๋ยวหมูดุดแปะรูปฟีดแบคเวอร์ชั่นเฉลยไว้ด้านล่างนะฮะ เผื่อคนต้องการศึกษา ปล4. ตะกี้หลังเขียนเสร็จพอลองค้นมิสเตอร์กู๋มาก็เจอคนญี่ปุ่นที่ใช้กริยา 着る กับที่คาดผมด้วยแฮะ... ปล5. เพิ่งเห็นว่าลืมเซ็นเซอร์ชื่อจริงกับรหัสนิสิตตัวเอง อ้ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


 

น้ำตาจะไหล ไม่มีอันไหนที่ลองแก้เองแล้วจะถูกเลย ฮืออ

40 views1 comment

1 Comment


K. K.
K. K.
Feb 17, 2019

อย่าเพิ่งท้อแท้เสียกำลังใจนะคะ หมูดุดพัฒนาการเขียนได้ดีขึ้นทุกวัน ทีละเล็กละน้อย สำหรับคราวนี้แค่ลองสังเกตการใช้ในภาษาญี่ปุ่ที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลง...(กระบวนการ) จึงจะใช้รูป 〜ようになりました แล้วต่อไปเราก็ลองใช้ดูนะคะ

Like
bottom of page