การกลับมาของเส้นงงตัวร้าย เพิ่มเติมคือคราวนี้มันมาพร้อมกับผองเพื่อนฟีดแบค !
สวัสดีทุกคนฮะ ! เนื่องจากคาบก่อนหน้านั้นหมูดุดได้เรียนเกี่ยวกับการอธิบายแบบ 手際 (ว่าง่าย ๆ ก็คือการอธิบายแบบละเอียดและเข้าใจง่าย) ไป และอาจารย์ได้สั่งการบ้านการเขียนอธิบายบอกทางจาก BTSช่องนนทรีไปตึกบรมราชกุมารีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมูดุดเลยอยากมาแบ่งปันฟีดแบคของการบ้านหลังส่งงานและสิ่งที่ได้จากการบ้านครั้งนี้ให้ทุก ๆ คนฮะ
และเนื่องจากการบ้านมีการแก้ส่ง 2 ครั้ง บวกกับหมูดุดลองแก้เองในครั้งสุดท้าย ในโพสต์นี้เลยขอแบ่งเป็น 3 ส่วนตามพัฒนาการการแก้งานทั้ง 3 ครั้งนั่นเองฮะ ดังนั้นยาวแน่นอนฮะ すみません _:(´□`」 ∠):_
ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยโลดดด
ครั้งที่ ① ลองเขียนเอง + ฟีดแบคจากเพื่อน ๆ
วิธีเขียนงานชิ้นนี้ของหมูดุดคือ เริ่มค้นคว้าข้อมูลก่อนว่ามีทางไหนไปได้ง่าย ๆ บ้าง
(สารภาพเลยว่าจำทางไปไม่ได้จริง ๆ อยู่มาตั้ง 3 ปีแล้วแต่ทางไปมหาวิทยาลัยยังคลำ ๆ อาศัยตามคนอื่นเขาไปจนถึงที่เลย ฮืออ)
จากนั้นใช้วิธีวาดรูปเอาในกระดาษทด คล้าย ๆ มินิแมพ เพราะคิดว่าการวาดรูปน่าจะทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น พอวาดแผนที่คร่าว ๆ เสร็จก็เริ่มลงมือหาคำศัพท์ จากนั้นจึงเริ่มลงมือเขียนจริง
หลัก ๆ แล้วหมูดุดพยายามเน้นการเขียนให้อ่านแล้วรู้เรื่องที่สุด เลยเขียนอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ลงไป พอเขียนเสร็จก็ลองให้เจ้ (พี่สาว) อ่านดู เจ้ก็วาดรูปถูกด้วย เลยหลงดีใจไปนึกว่าเราเขียนดีแล้ว
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาตามมิสเตอร์กู๋ (กูเกิ้ลดอทคอม) ด้วย เลยเจอกับเว็บเพจ gakumado.mynavi.jp/freshers/articles/13996 ด้วย ซึ่งในเพจมีการอธิบายวิธีการบอกทางแบบฉบับโอะมะวะริซัง (คุณตำรวจญี่ปุ่น) ไว้อีกด้วย และหลาย ๆ เทคนิกก็น่าสนใจมาก เช่น การอธิบายระยะทางด้วยจำนวนก้าว การอธิบายโดยใช้สถานที่ที่เป็นจุดสังเกต การอธิบายแบบกว้าง ๆ ให้เห็นภาพรวมก่อน ฯลฯ ซึ่งหมูดุดก็นำเทคนิกพวกนี้มาปรับใช้กับงานเขียนของตนเองด้วยล่ะ
ปรากฎว่าหลังได้ฟีดแบคจากเพื่อน (กรณีหมูดุดนั้นได้มาทั้งหมด 3 ฟีดแบคฮะ) แล้ว ความมั่นใจตอนเริ่มเขียนหายวับไปกับตาเลย 5555555 /ร้องไห้ทั้งน้ำตา ฮือ
ที่ตอนแรกตั้งเป้าไว้ว่าอ่านแล้วจะเข้าใจ (เห็นภาพ) แน่นอน แต่พอดูจากฟีดแบคแล้วเหมือนจะไม่ตรงตามที่ตั้งใจสักอย่างเลย /น้ำตาตกใน
ก่อนอื่นมาลองดูตัวอย่างคอมเมนต์ที่ได้กันดีกว่าฮะ
- ละเอียดมาก
- คำอธิบายฟุ่มเฟือย
- กระบวนการเยอะเกินไป
- คิดว่าไม่ควรใช้เวลาในการบอกทาง
- ชื่อป้ายสถานีรถปอพ. เขียนเป็นภาษาอังกฤษอาจจะเข้าใจง่ายกว่า
- プール (สระน้ำ) → 池 (บ่อ)
- ฯลฯ
/น้ำตาไหลเป็นน้ำตกไนแอการา
และพอลองเปรียบเทียบกับของเพื่อน ๆ (กรณีหมูดุดนั้นได้เขียนฟีดแบคให้เพื่อน 2 คน)
งานเขียนของเพื่อน 1 ก็ใช้เส้นทางที่คล้าย ๆ ของหมูดุดแต่เขียนแบบคร่าว ๆ เลยทำให้อ่านง่ายกว่าเยอะ
ส่วนงานเขียนของเพื่อน 2 หมูดุดชอบมากเลยย เพราะเขาเขียนเป็นข้อ ๆ มันดูเป็นขั้นตอน เข้าใจได้ไม่ยาก และที่สำคัญอ่านง่ายมากกก
ส่วนของหมูดุดนั้น เป็นเพราะมัวแต่ไปโฟกัสความละเอียดในการอธิบายเลยทำให้งานเขียนยาวเหยียด อ่านยาก และงงมาก ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ที่ของการอธิบายแบบ 手際 มาก ๆ เพราะสิ่งที่สำคัญคือ 共感力 (Empathy) ว่าง่าย ๆ ก็คือ “การเอาใจเขา (ผู้อ่าน) มาใส่ใจเรา (ผู้เขียน) ” จุดประสงค์หลักของการเขียนอธิบายคือการทำให้ผู้อ่านเข้าใจ (ได้ง่าย) ดังนั้นจึงต้องเขียนให้น่าอ่าน อ่านง่าย และเข้าใจง่ายนั่นเอง ทีนี้พอหมูดุดมาลองย้อนอ่านงานของตัวเอง ก็พบว่างานเขียนที่มีความยาวขนาดนี้มันทำให้ขี้เกียจอ่านจริง ๆ นั่นแหละ อย่าว่าแต่จะอธิบายดีหรือไม่ดีเลย ถ้ายาวขนาดนี้ก็ทำให้รู้สึกว่าเส้นทางนี้มันไปยากมาก ๆ จนไม่อยากอ่านเหมือนที่ฟีดแบคบอกแล้วล่ะ 5555555
นอกจากนี้ พอมาคิดดูอีกทีแล้ว การบอกระยะทางด้วยจำนวนก้าวก็ไม่ค่อยโอเคจริง ๆ นั่นแหละ เพราะแต่ละคนก้าวยาวไม่เท่ากันนี่เนอะ ถ้าเป็นหน่วยระยะทาง เช่น เมตร หรือ กิโลเมตร น่าจะโอเคกว่า เพราะเป็นหน่วยที่ทุกคนเข้าใจตรงกันได้ รวมถึงพอมาพิจารณาดี ๆ แล้วก็พบว่าการบอกทางด้วยเวลาเนี่ย มันช่วยให้คนอ่านคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทางคร่าว ๆ ได้ก็จริง แต่เวลาเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ในการอธิบายกับการเดินทางจริงเวลาอาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้ หมูดุดเลยคิดว่าการอธิบายโดยไม่ใส่เวลาตามที่ฟีดแบคของเพื่อนเขียนไว้ก็ดูเป็นความคิดที่ดีเหมือนกันแฮะ
ขอโทษด้วยนะฮะโอะมะวะริซังที่ใช้เทคนิกที่อยู่ในเว็บเพจอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ _:(´□`」 ∠):_
/แอบตกใจนิดหน่อยตอนที่อาจารย์ขีดเส้นงงตรงคำว่าโรงภาพยนตร์ลิโด้ และพูดว่า “ตรงนี้ไม่ได้เรียกว่าลิโด้แล้วนะ”
หะ! อะไรนะ นี่เพิ่งรู้เลยนะเนี่ย ปกติก็เรียกลิโด้มาตลอด เสียงประกาศจุดจอดของรถปอพ. ก็เรียกป้ายนี้ว่าลิโด้นะ นี่เป็นความรู้ใหม่เลยนะเนี่ย เดี๋ยวต้องไปบอกเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขด้วยสินะ 555555
/พอไปแอบดูว่าเพื่อนเขียนว่าอะไร ก็เห็นเพื่อนใช้คำว่า “โรงภาพยนตร์สกาล่า” แทน นารุโฮะโดะเน้)
พอท้ายคาบอาจารย์จึงสั่งการบ้านให้ไปแก้ไขอีกรอบ และให้เอกสารตัวอย่างการเขียนจริง ๆ ของคนญี่ปุ่นมาศึกษาประกอบการเขียนแก้ด้วย ขอบคุณมากฮะะะ
และพอลองอ่านก็พบว่ามีบางคนที่เขียนยาวเป็นพรืดแบบหมูดุดอยู่ด้วย สวัสดีฮะเพื่อนยาก 5555555
นอกจากนี้หมูดุดยังได้ค้นพบวิธีการเขียนที่น่าสนใจด้วย เช่น การอธิบายซ้าย-ขวา ปกติเวลาเขียนคำว่าซ้าย-ขวาหลาย ๆ คน (และหมูดุด) มักจะใช้คำว่า 左-右 ซึ่งแปลตรงตัวว่าซ้าย-ขวา แต่สำหรับคนที่มาอ่านจะรู้สึกว่างงมาก ๆ เพราะไม่รู้ว่าเป็นซ้าย-ขวาของอะไร ในเอกสารตัวอย่างใช้คำว่า “左手-右手” แปลตรง ๆ ก็คือ “มือซ้าย-มือขวา” ซึ่งเป็นอะไรที่เข้าใจง่ายมาก ๆ เพราะทุกคนสามารถเข้าใจตรงกันได้ว่าทาง ๆ นั้นอยู่ทางข้างซ้าย (มือ) หรือทางขวา (มือ) ไม่มีหลงแน่นอน!
และในบรรดาตัวอย่างทั้งหลายนั้น ตัวอย่างที่หมูดุดชอบที่สุดก็คือ
สิ่งที่หมูดุดชอบเกี่ยวกับตัวอย่างนี้ คือการที่อธิบายเส้นทางโดยไล่รายชื่อร้านค้าที่อยู่ตามทางนั้น อ่านแล้วรู้สึกว่าเห็นภาพมาก ๆ เลย รวมถึงการลงท้ายงานเขียนด้วยคำว่า お疲れさまでした ด้วย อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวฮะ หมูดุดจะชอบงานเขียนประเภทที่เขียนโดยให้ความรู้สึกว่าอ่านแล้วเหมือนมีคนเขียนลงมานั่งอยู่ข้าง ๆ ผู้อ่านจริง ๆ เป็นพิเศษ พอลงท้ายด้วยคำนี้แล้วหมูดุดเลยรู้สึกว่าเหมือนคนเขียนมาเดินเป็นเพื่อนเราและคอยให้กำลังใจอยู่ข้าง ๆ เลย ฟินน
ส่วนอันที่ชอบรองลงมาคือ..........
ความจริงแล้ว ในบรรดาตัวอย่างงานเขียนทั้งหมดนั้น อันนี้เป็นตัวอย่างที่หมูดุดอ่านเป็นอันแรกเลยฮะ เพราะว่าสั้นได้ใจมาก คิดว่ามันต้องอธิบายง่ายแน่นอน..........
และก็ง่ายจริง ๆ ด้วย หมายถึงคนเขียนนะ เล่นง่ายจริง ๆ 555555555555555
และการแก้ครั้งนี้หมูดุดจึงตั้งใจแก้ตามฟีดแบคเป็นหลักและเลือกใช้เทคนิกหลัก ๆ 2 อย่างด้วยกัน คือ
①. เขียนชื่อป้ายที่รถปอพ. จอด คล้าย ๆ กับที่ตัวอย่างเขียนไล่ชื่อร้านค้าเรียงกัน
②. เขียนเป็นข้อ ๆ 1 2 3 4 5 ให้อ่านง่าย ๆ สบายตา
ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ไปดูเลยฮะ !
ครั้งที่ ② แก้งานเขียนโดยดูตัวอย่างประกอบ + ฟีดแบคจากอาจารย์
ยังคงมาตรฐานในเรื่องของจำนวนเส้นงงเหมือนเดิม 555555555555555555555 แต่ครั้งนี้รู้สึกว่าเส้นงงจะน้อยกว่าคราวแรกนิดหน่อย ถือว่าประสบความสำเร็จขึ้นมาขั้นหนึ่งแล้วรึเปล่านะ?
เส้นงงคราวนี้ หลัก ๆ แล้วมีดังนี้
- การใช้คำศัพท์
- การใช้คำช่วยและคำเชื่อม
- ความละเอียดของเนื้อหาที่หายไปแลกมากับความอ่านง่าย
Orz สรุปแล้วมันไม่ดีขึ้นเลยนี่นา รู้สึกเฟลกว่าเดิมอีก โถ่เอ้ยหมูดุด!
หลัก ๆ ที่หมูดุดต้องพิจารณาคงจะเป็นเรื่องของความละเอียด เพราะจากตอนแรกที่หมูดุดเขียนมายาวเหยียด ทำให้หมูดุดพยายามลดปริมาณเนื้อหาลงเพื่อให้มันอ่านง่าย สบายตา สบายใจมากขึ้น แต่ส่วนที่ควรจะมีอย่างรายละเอียด เช่น จุดสังเกตต่าง ๆ มันดันหายไปด้วยนี่สิ ตอนที่อ่านฟีดแบคครั้งแรกก็คิดไปต่าง ๆ นานาว่าความละเอียดกับความอ่านง่าย (ไม่ยาว) มันจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร แต่พอลองไปดูอีกตัวอย่างที่อาจารย์ให้ดู..........
มันทำได้จริง ๆ ด้วยแฮะ..........
แน่นอนว่าความยาวนั้นมากกว่าของหมูดุดแน่นอน แต่ว่ามันไม่ใช่ความยาวที่มากขนาดจะทำให้ไม่อยากอ่าน เนื่องจากใช้วิธีการเขียนแบบลิสต์ และในความยาวนั้นมีแต่รายละเอียดที่จำเป็นทั้งนั้น ไม่มีคำอธิบายที่รู้สึกว่าฟุ่มเฟือยด้วย สุดยอดไปเลย..........
และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่หมูดุดได้เรียนรู้จากตัวอย่างล่าสุดนี้คือ 共感力 ที่จำเป็น 2 อย่าง ได้แก่
①. เนื้อหาหรือรายละเอียดที่จำเป็นกับคนอ่าน คัดเลือกแต่สิ่งที่จำเป็นและดีที่สุดให้กับผู้อ่าน
②. ความอ่านง่าย รู้สึกว่าทำตามที่อธิบายได้จริง
แม้จะดูยุ่งยาก แต่ตัวอย่างนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าการใส่ใจรายละเอียดเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับงานเขียนไม่น้อยเลยทีเดียว
ครั้งที่ ③ Final Round แก้เองรอบสุดท้าย
ถ้าถามว่ารอบนี้หมูดุดจะแก้งานอย่างไร หมูดุดก็คงจะแก้โดยการเพิ่มรายละเอียดสำคัญ ๆ อย่างการเพิ่มจุดสังเกตต่าง ๆ ที่เห็นเเล้วนึกภาพออก
อ้อ!ต้องแก้การใช้คำช่วยด้วย ทำไมหมูดุดต้องผิดคำช่วยทุกทีเลยสิน่า คงเป็นเพราะไม่ได้คิดให้รอบคอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำศัพท์ต่าง ๆ กับบริบท และความหมายที่จะเขียนก่อนสินะ บ้าจริงหมูดุด! ส่วนเรื่องการใช้คำศัพท์นี่..........
คงต้องอาศัยการฝึกอ่านเยอะ ๆ เพราะเท่าที่สังเกตการใช้คำผิดของหมูดุดมักมีสาเหตุมาจากปรากฏการณ์ “ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี” เป็นหลักเลย ฉะนั้นแล้ววิธีแก้ก็คงจะเป็นฝึกหาบทอ่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ก่อนเขียนจริงเพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์สินะ (ซึ่งคงจะต้องอาศัยเรื่องอ่านจากมิสเตอร์กู๋ตามเคย)
(หรือถ้าใครมีวิธีดีกว่านี้ก็แนะนำได้เลยนะฮะ!(*´∀`*))
และผลงานล่าสุดจึงออกมาเป็นนน
タイトル:BTSチョンナンシからチュラ大文学部のBRKビルまでのおすすめルート
1. BTSチョンナンシ駅から、National Stadium行きの電車に乗って、サイアム駅に降りる。(順番は、チョンナンシ、サラデーン、ラチャダムリ、サイアム) 停車する前にアナウンスがあるので、迷わずに安心できる。
2. 電車を降りてから改札のところまで(階段の2階分くらい)階段やエスカレーターを下りる。2番の出口を出て、左手の階段を下りる。(出口の番号の駅案内表示は、チケットオフィスの上の方にある)
3. Uターンして右手に向いて43メートル進むと、Watsonというドラッグストアが見える。もう10メートルくらいでスカーラ映画館が見える。
4. スカーラ映画館のつぎにセブンイレブン(7-11)がある。そこがチュラロンコン大学のポップバスのバス乗り場だ。(ポップバスとは、チュラロンコン大学の無料乗りのピンクのシャトルバスで、チュラロンコン大学内とその周りを走っている) そこにバス停の表示がないが、チュラロンコン大学の学生がよく列に並んでいる。その列に並んで待てばいい。
5. そこで1番のポップバスも4番のポップバスも停車するので、間違いなく、1番のポップバスに乗る。文学部 (Faculty of Arts) で降りる。 (順番は、スカーラ映画館、Faculty of Pharmaceutical Sciences, Triamudom Suksa School, Faculty of Architecture, Faculty of Arts)
6. 乗ってから交差点の左手の角を曲がって、MBKデパートを通る。しばらくすると、チュラロンコン大学の門に入る。右手に大きい池が見える。その池から数百メートルくらいで文学部のバス停だ。たまたま停車はしないので、忘れずに降りる前にボタンを押す。
7. 降りてからバス停の背後へもう少し30メートルくらいまっすぐ進むと、白くて四角の棒と三角の屋根の形をしている建物が見える。(บรมราชกุมารีと、上に書いてある)
8. これでやっと目的地のBRKビルに着いた。お疲れさま。
แต่นแต๊นนน เป็นไงบ้างฮะ
คราวนี้ลองแก้โดยอาศัยตัวอย่างประกอบล่าสุดเป็นหลักเลยฮะ และเน้นพัฒนางานเขียนตนเองให้ได้รายละเอียดตามตัวอย่างประกอบ หลัก ๆ ที่แก้ไปก็มี :
- แก้คำศัพท์และคำช่วย
- เพิ่มรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมากขึ้น (เช่น จุดสังเกต ข้อควรระวัง)
- เพิ่มคำว่า お疲れさま ลงท้ายงานเขียน เย่ (*^▽^*)
โดยรวมแล้วคิดว่ารอบนี้น่าจะอ่านแล้วรู้เรื่องมากขึ้น (มั้ง?) หรือถ้ามีใครอ่านแล้วพอเห็นภาพสักนิดหมูดุดก็ดีใจแล้วฮะ (´;ω;`) ถ้าลองเทียบกับของการแก้รอบที่ 2 แล้วเนื้อหาดูไม่ค่อยต่างกันมากก็จริง แต่รอบนี้หมูดุดใส่รายละเอียดเท่าที่คิดว่าจำเป็นลงไปแล้ว และพยายามเขียนให้มีสาระมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังลองเปลี่ยนมาใช้คำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยคิดจะใช้อย่างคำว่า 停車(จอดรถ) ด้วย เพิ่งมารู้ความหมายเอาก็ตอนนี้นี่แหละฮะ
นอกจากนี้ยังได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเรื่องคันจิที่เกี่ยวกับการลงด้วยฮะ อ้างอิงจากมิสเตอร์ฮู้ (ยะฮูเจแปน) ได้ความว่า :
ลง (บันได) ใช้คันจิ 下りる
ลง (จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง) ใช้คันจิ 降りる
ตามที่ในรูปอธิบายเลยฮะ
เรื่องนี้เลยทำให้หมูดุดคิดว่าบางอย่างเนี่ยถ้าไม่ลองค้นคว้าหาดูด้วยตนเองล่ะก็ไม่มีทางรู้จริง ๆ นะฮะ ส่วนเทคนิกการเขียนของหมูดุดที่ยังรู้สึกว่าต้องพัฒนาขึ้นอีกมากเห็นจะเป็นเรื่องของ "สำนวน" ต่าง ๆ เพราะหมูดุดรู้สึกว่าการใช้สำนวนเขียนซ้ำ ๆ มันค่อนข้างทำให้อ่านแล้วเบื่อได้ ฉะนั้นถ้าลองหาวิธีการพูดแบบอื่นที่ยังคงความหมายเดิม (Paraphrase) ไว้ได้ล่ะก็ น่าจะทำให้งานเขียนของหมูดุดอ่านได้อย่างเพลิดเพลินมากขึ้น
ซึ่งคิดว่าส่วนนี้เองก็คงต้องอาศัยการฝึกอ่านเอาเรื่อย ๆ อีกนั่นแหละ Orz
....
...
..
.
โดยสรุป สุดท้ายแล้วการบ้านชิ้นนี้ทำให้หมูดุดได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจริง ๆ ฮะ ไม่ว่าจะเป็น การใส่ใจในรายละเอียดของข้อมูล เช่น ความถูกต้องของข้อมูล (ชื่อของสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ลิโด้ → โรงภาพยนตร์สกาล่า) การคิดถึงมุมมองของผู้อ่าน (เขียนเป็นลิสต์ให้อ่านได้ง่าย ๆ) นอกจากนี้ยังฝึกความช่างสังเกตด้วย
เพราะคนที่ช่างสังเกตมักตระหนักถึงรายละเอียดที่คนอื่นไม่ค่อยสนใจกัน เช่น รูปทรงของตึกที่ตรงหลังคาเป็นรูปสามเหลี่ยม และตรงกลางด้านหน้าตึกเป็นรูโบ๋ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้หมูดุดคิดว่ามีประสิทธิภาพมาก ๆ ในการใช้อธิบายอะไรบางอย่างให้เข้าใจง่าย (และหมูดุดเองก็เพิ่งสังเกตด้วยว่าตึกมันเป็นรูปทรงนี้จริง ๆ สุดยอดไปเลยฮะ ซูฮกเลย) จากนี้ไปมีอะไรให้ปรับปรุงอีกเยอะเลย แต่ถือเป็นความรู้ที่ดีมาก ๆ เลยฮะ d=(’▽‵)=b
..
.
ก็จบกันไปแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกคนมากฮะที่อ่านกันมาจนจบ
รู้สึกว่าโพสต์นี้จะยาวเป็นพิเศษเลยแฮะ แถมพูดจาไม่ค่อยรู้เรื่องอีก ฮืออ
คราวหน้าหมูดุดจะพยายามเขียนให้ดีขึ้นอีกนะฮะ กัมบะริมัส เป็นกำลังใจให้ด้วยนะฮะ !
ปล. คราวนี้ไม่ลืมเซ็นเซอร์ชื่อนิสิตแล้ว เย้!
ปล2. ขออภัยที่รูปไม่ค่อยชัดด้วยนะฮะ กล้องไม่อำนวยจริง ๆ
ปล3. เดี๋ยวหมูดุดแปะฟีดแบคเวอร์ชั่นเฉลยของรอบที่ 2 ไว้ด้านล่างนะฮะ เผื่อมีคนอยากรู้ว่าต้องแก้อย่างไร
Kommentare